สิทธิของประชาชนตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ |
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
มาตรา 58 บัญญัติว่า “บุคคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครอง ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
1.สิทธิรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
ประชาชนมีสิทธิรับรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้เสีย ประกอบด้วย
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา 7 หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
(1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำเนินงาน
(2) สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญและวิธีการดำเนินงาน
(3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบายหรือการตีความ ทั้งนี้เฉพาะที่จัดให้มีขึ้นโดยมีสภาพอย่างกฎ
เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง
(5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้เผยแพร่หลายตามจำนวนพอสมควรและ ถ้ามีการลงพิมพ์ ในราชกิจจานุเบกษาโดยอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่งแล้ว
ให้ หน่วยงานของรัฐรวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งไว้เผยแพร่เพื่อ ขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร
- การใช้สิทธิเข้าตรวจดูได้ด้วยตนเอง ณ สถานที่ที่หน่วยงานกำหนดและจัดเตรียมข้อมูลข่าวสารนั้นไว้สำหรับข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 9
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
มาตรา 9
ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15
หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ไว้
ให้ประชาขนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
(1)
ผลการพิจารณาหรือคำวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน
รวมทั้งความเห็นแย้งและคำสั่งที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาวินิจฉัยดังกล่าว
(2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 7 (4)
(3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของปีที่กำลังดำเนินการ
(4) คู่มือหรือคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน
(5) สิ่งพิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงมาตรา 7 วรรคสอง
(6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัดทำบริการสาธารณะ
(7)
มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ ให้ระบุรายชื่อรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง
หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย
(8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อมูล
ข่าวสารที่ได้จัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตามวรรคหนึ่ง
ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา 14 หรือมาตรา 15 อยู่ด้วย
ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำโดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ส่วนนั้น
บุคคลไม่
ว่าจะมีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องหรือไม่ก็ตาม ย่อมมีสิทธิเข้าตรวจดู
ขอสำเนาหรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่งได้
ในกรณีที่สมควรหน่วยงานของ
รัฐโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
จะวางหลักเกณฑ์เรียกค่าธรรมเนียมในการนั้นก็ได้
ในการนี้ให้คำนึงถึงการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยประกอบด้วย ทั้งนี้
เว้นแต่จะมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
คนต่างด้าวจะมีสิทธิตามมาตรานี้เพียงใดให้เป็นไปตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
-
การไปใช้สิทธิขอดูโดยการยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐ
ที่จัดเก็บหรือครอบครองดูแลข้อมูลข่าวสารที่ต้องการขอดูนั้น
สำหรับข้อมูลข่าวสารของราชการปกติทั่วไป (ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 11
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540)
มาตรา 11
นอกจากข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
หรือที่จัดไว้ให้ประชาชน
เข้าตรวจดูได้แล้ว
หรือที่มีการจัดให้ประชาชนได้ค้นคว้าตามมาตรา 26 แล้ว
ถ้าบุคคลใดขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการและคำขอของผู้นั้นระบุข้อมูลข่าว
สารที่ต้องการในลักษณะที่อาจเข้าใจได้ตามควร
ให้หน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้แก่ผู้ขอภายในเวลา
อันสมควร เว้นแต่ผู้นั้นขอจำนวนมากหรือบ่อยครั้งโดยไม่มีเหตุอันควร
ข้อมูลข่าวสารของราชการใดมีสภาพที่อาจบุบสลายง่าย
หน่วยงานของรัฐจะขอขยายเวลาในการจัดหาให้หรือจะ
จัดทำสำเนาให้ในสภาพที่พร้อมจะให้ได้
มิใช่เป็นการต้องไปจัดทำ วิเคราะห์ จำแนก รวบรวม หรือจัดให้มีขึ้นใหม่
เว้นแต่เป็นการแปรสภาพเป็นเอกสารจากข้อมูลข่าวสารที่บันทึกไว้ในระบบการ
บันทึกภาพหรือเสียง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือระบบอื่นใด ทั้งนี้
ตามที่คณะกรรมการกำหนด
แต่ถ้าหน่วยงานของรัฐเห็นว่ากรณีที่ขอนั้นมิใช่การแสวงหาผลประโยชน์ทางการ
ค้า และเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพสำหรับผู้นั้น
หรือเป็นเรื่องที่จะเป็นประโยชน์แก่สาธารณะ
หน่วยงานของรัฐบาลจะจัดหาข้อมูลข่าวสารนั้นให้ก็ได้
บทบัญญัติวรรคสามไม่เป็นการห้ามหน่วยงานของรัฐที่จะจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการใดขึ้นใหม่ให้แก่ผู้
ร้องขอหากเป็นการสอดคล้องด้วยอำนาจหน้าที่ตามปกติของหน่วยงานของรัฐนั้นอยู่แล้ว
ให้นำความในมาตรา 9 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับแก่การจัดหาข้อมูลข่าวสารให้ตามมาตรานี้
โดยอนุโลม
- การใช้บริการศึกษาค้นคว้า ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สำหรับข้อมูลข่าวสารที่เป็น “เอกสารประวัติศาสตร์” (ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 26
แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540)
มาตรา 26
ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะเก็บรักษาหรือมีอายุ
ครบกำหนดตามวรรค
สองนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารนั้น
ให้หน่วยงานของรัฐส่งมอบให้แก่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กรมศิลปากรหรือหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพื่อคัดเลือก
ไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า
กำหนดเวลาต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการตามวรรคหนึ่งให้แยกตามประเภท ดังนี้
(1) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 14 เมื่อครบเจ็ดสิบห้าปี
(2) ข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 15 เมื่อครบยี่สิบปี กำหนดเวลาตามวรรคสอง อาจขยายออกไปได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(3)
หน่วยงานของรัฐยังจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลข่าวสารของราชการไว้เองเพื่อ
ประโยชน์ในการใช้สอยโดยต้อง จัดเก็บและจัดให้ประชาชนได้ศึกษา
ค้นคว้าตามที่ตกลงกับหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร
(4) หน่วยงานของรัฐเห็นว่า
ข้อมูลข่าวสารของราชการนั้น ยังไม่ควรเปิดเผยโดยมีคำสั่งขยายเวลา
กำกับไว้เป็นการเฉพาะราย คำสั่งการขยายเวลานั้น
ให้กำหนดระยะเวลาไว้ด้วย แต่จะกำหนดเกินคราวมละห้าปีไม่ได้
การตรวจ
สอบหรือทบทวนมิให้มีการขยายระยะเวลาไม่เปิดเผยจนเกินความจำเป็นให้เป็นไปตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
บทบัญญัติตามมาตรานี้มิให้ใช้บังคับข้อมูลข่าวสารของราชการ
ตามที่คณะรัฐมนตรีออกระเบียบกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะ
ต้องทำลายหรืออาจทำลายได้โดยไม่ต้องเก็บรักษา
2.สิทธิร้องเรียน
1. การร้องเรียนตามมาตรา 13 หากผู้ใดเห็นว่าหน่วยงานของรัฐ
1) ไม่ส่งข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 23 (3) ไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
2) ไม่จัดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนเข้าตรวจดู ตามมาตรา 9
3) ปฏิบัติงานล่าช้าในการพิจารณาให้ข้อมูลข่าวสารหรือเพิกเฉย
4) ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
5) ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2 การร้องเรียนตามมาตรา 33 กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอนั้นแต่ผู้ขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง
1) หากประชาชนเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 ไม่ว่าตนเองจะได้รับผลกระทบหรือไม่ก็ตาม สามารถร้องเรียนต่อ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
1) ไม่ส่งข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 7 และมาตรา 23 (3) ไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
2) ไม่จัดข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนเข้าตรวจดู ตามมาตรา 9
3) ปฏิบัติงานล่าช้าในการพิจารณาให้ข้อมูลข่าวสารหรือเพิกเฉย
4) ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
5) ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2 การร้องเรียนตามมาตรา 33 กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารที่มีคำขอนั้นแต่ผู้ขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง
1) หากประชาชนเห็นว่าหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 ไม่ว่าตนเองจะได้รับผลกระทบหรือไม่ก็ตาม สามารถร้องเรียนต่อ คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร
ของราชการได้
2) การร้องเรียนให้ทำเป็นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กทม. 10300 ในหนังสือร้องเรียนควรแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับเพื่อการประสานงานไว้ ด้วย
3) การร้องเรียนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น
2) การร้องเรียนให้ทำเป็นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กทม. 10300 ในหนังสือร้องเรียนควรแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับเพื่อการประสานงานไว้ ด้วย
3) การร้องเรียนไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น
1) หน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ขอตรวจดูหรือขอสำเนาหรือสำเนาพร้อมคำรับรองความถูกต้อง
2) หน่วยงานของรัฐไม่รับฟังคำคัดค้านโดยจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามคำขอ
2 สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 25 กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
1) ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการด้วยเหตุดังกล่าว
2) การอุทธรณ์ให้ทำเป็นหนังสือถึงประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการโดยแนบสำเนาหลักฐานไปด้วย
3) ส่งหนังสือไปที่ประธานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กทม. 10300
4) การอุทธรณ์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น
4.สิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ได้เสียของตน
- ประชาชนมีสิทธิคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของตน โดยทำหนังสือถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบภายในเวลา
15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้ง
-
กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐมีคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้าน
ประชาชนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยภายใน 15 วัน
นับตั้งแต่วันได้รับคำสั่ง
ขั้นตอนการใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ |
1. พิจารณาว่าพฤติการณ์ หรือการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐได้มีลักษณะตามกรณีดังต่อไปนี้หรือไม่
1) กรณีไม่นำข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
2) กรณีไม่จัดข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 9 ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
3) กรณีไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ใช้สิทธิขอดู ตามมาตรา 11
4) กรณีไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง หรือไม่ส่งคำขอให้หน่วยงานผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารพิจารณา ตามมาตรา 12
5) กรณีไม่แจ้งให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียเสนอคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ ตามมาตรา 17
6) กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา 23
7) กรณีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูล ตามมาตรา 24
8) กรณีกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 25 (ยกเว้นเป็นกรณี ตามมาตรา 25 วรรคสี่)
9) กรณีไม่ส่งมอบข้อมูลข่าวสารประวัติศาสตร์ให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อคัดเลือก ไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ตามมาตรา 26
10) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือไม่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 13
11) กรณีไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุอัน สมควร ตามมาตรา 13
12) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ร้องขอ และผู้ร้องขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง (มาตรา 33)
2. ยื่นหนังสือร้องเรียนด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นแทน
สามารถยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้ทันที
โดยยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
หรือจะส่งหนังสือร้องเรียนทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยจ่าหน้าซองดังนี้

ระบบร้องเรียนออนไลน์
1) กรณีไม่นำข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
2) กรณีไม่จัดข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 9 ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
3) กรณีไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ใช้สิทธิขอดู ตามมาตรา 11
4) กรณีไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง หรือไม่ส่งคำขอให้หน่วยงานผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารพิจารณา ตามมาตรา 12
5) กรณีไม่แจ้งให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียเสนอคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ ตามมาตรา 17
6) กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา 23
7) กรณีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูล ตามมาตรา 24
8) กรณีกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 25 (ยกเว้นเป็นกรณี ตามมาตรา 25 วรรคสี่)
9) กรณีไม่ส่งมอบข้อมูลข่าวสารประวัติศาสตร์ให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อคัดเลือก ไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ตามมาตรา 26
10) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือไม่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 13
11) กรณีไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุอัน สมควร ตามมาตรา 13
12) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ร้องขอ และผู้ร้องขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง (มาตรา 33)
2. ยื่นหนังสือร้องเรียนด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นแทน
สามารถยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้ทันที
โดยยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
หรือจะส่งหนังสือร้องเรียนทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยจ่าหน้าซองดังนี้
ระบบร้องเรียนออนไลน์
1.ข้อแนะนำในตรวจดูข้อมูล
ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารได้ทุกเรื่อง
สิทธิในการยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารนี้
ถือว่าเป็นไปตามมาตรา 11 ของกฎหมาย
ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการได้ทุกเรื่อง
โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดข้อจำกัดหรือข้อห้ามว่าไม่ให้ยื่นคำขอข้อมูลข่าวสาร
ประเภทใดหรือเรื่องใด
และผู้ใช้สิทธิยื่นคำขอตามกฎหมายนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้ส่วนเสียเช่น
เดียวกับสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร
สิทธิในการเข้าตรวจดู
สิทธิในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ ประชาชนสามารถทำได้
แม้ว่าจะไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้น
โดยกฎหมายได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐจะต้องเตรียมข้อมูลข่าวสารของราชการ
อย่างน้อยตามรายการที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 9
นำไปรวมไว้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
เช่น แผนงานโครงการและงบประมาณ สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน
เป็นต้น
สิทธิในการขอสำเนาหรือการรับรองสำเนาถูกต้อง
เมื่อประชาชนได้ใช้สิทธิเข้าตรวจดู แล้ว หากสนใจข้อมูลข่าวสารของราชการในเรื่องใดก็มีสิทธิที่จะขอสำเนา และขอให้รับรองสำเนาถูกต้องจากหน่วยงานของรัฐในเรื่องนั้นได้
หมายเหตุ การ ขอสำเนาผู้ขออาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถ่ายสำเนาให้กับหน่วยงานของรัฐที่ เข้าตรวจดูด้วย แต่ทั้งนี้จะเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ของราชการให้ความเห็นชอบไม่ได้
บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือเพื่อขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง (มาตรา 25 วรรคหนึ่ง)
เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งแห่งใด
ที่มีการรวบรวมข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ เช่น
ประวัติสุขภาพ ประวัติการทำงาน หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฐานะการเงิน
เป็นต้น บุคคลผู้นั้นก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอตรวจดู
หรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนี้ของตนเองได้
คำว่า บุคคล ตามที่นี้ก็คือ
ประชาชนโดยทั่วไปนั่นเอง ทั้งนี้
กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้
ให้สิทธิครอบคลุมไปถึงคนที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยด้วย
2.ข้อแนะนำในการใช้สิทธิร้องเรียน
1. ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ
2. ระบุข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
3. ข้อความที่ควรระบุในหนังสือร้องเรียน
3.1 รายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ร้องเรียน ประกอบด้วย
- ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์
- วันที่ที่ยื่นคำร้องเรียน
3.2 รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
- ชื่อหน่วยงาน
- ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ที่เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3.3 เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
หากมีเอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งหากผู้ร้องจะแนบไปด้วยก็จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการ ซึ่งจะได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียนนั้น ๆ ต่อไป
4. พยายามหลีกเลี่ยงการร้องเรียนที่ใช้ถ้อยคำเสียดสี ดูหมิ่น หรือพาดพิงไปถึงบุคคลอื่น
5. ถ้ามีข้อขัดข้องในการเขียนหนังสือร้องเรียน
2. ระบุข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ของหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
3. ข้อความที่ควรระบุในหนังสือร้องเรียน
3.1 รายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้ร้องเรียน ประกอบด้วย
- ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์
- วันที่ที่ยื่นคำร้องเรียน
3.2 รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย
- ชื่อหน่วยงาน
- ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ที่เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3.3 เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
หากมีเอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งหากผู้ร้องจะแนบไปด้วยก็จะเป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการ ซึ่งจะได้นำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเรื่องร้องเรียนนั้น ๆ ต่อไป
4. พยายามหลีกเลี่ยงการร้องเรียนที่ใช้ถ้อยคำเสียดสี ดูหมิ่น หรือพาดพิงไปถึงบุคคลอื่น
5. ถ้ามีข้อขัดข้องในการเขียนหนังสือร้องเรียน
สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
หรือโทรศัพท์ 0-2282-1366 โทรสาร 0-2281-8543
อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
หรือโทรศัพท์ 0-2282-1366 โทรสาร 0-2281-8543
3. ข้อแนะนำในการอุทธรณ์
1. ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ
2. ข้อความที่ควรระบุในหนังสืออุทธรณ์
1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้อุทธรณ์ ได้แก่
- ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์
- วันที่ที่ยื่นคำอุทธรณ์
2) รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการกระทำที่เป็นเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ ได้แก่
- ชื่อหน่วยงาน
- ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์และการกระทำ หรือคำสั่งที่เป็นมูลเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นกรณีไม่เปิดเผยข้อมูลที่ท่านขอ
หรือไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือไม่ยอมแก้ไขหรือลบข้อมูลที่ท่านขอให้แก้ไข
- รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเหตุให้ท่านอุทธรณ์ โดยควรระบุให้ละเอียดชัดเจนและเข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ท่านขอดูหรือข้อมูลที่ ท่านคัดค้าน
2. ข้อความที่ควรระบุในหนังสืออุทธรณ์
1) รายละเอียดเกี่ยวกับผู้อุทธรณ์ ได้แก่
- ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อโดยสะดวก และหมายเลขโทรศัพท์
- วันที่ที่ยื่นคำอุทธรณ์
2) รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการกระทำที่เป็นเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ ได้แก่
- ชื่อหน่วยงาน
- ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์และการกระทำ หรือคำสั่งที่เป็นมูลเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นกรณีไม่เปิดเผยข้อมูลที่ท่านขอ
หรือไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือไม่ยอมแก้ไขหรือลบข้อมูลที่ท่านขอให้แก้ไข
- รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเหตุให้ท่านอุทธรณ์ โดยควรระบุให้ละเอียดชัดเจนและเข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ท่านขอดูหรือข้อมูลที่ ท่านคัดค้าน
ในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย
หรือข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไขหรือลบ เป็นเรื่องอะไร
โดยระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรระบุชื่อและประเภท
ตลอดจนหมายเลขและวันที่ที่กำหนดในเอกสารไว้ด้วย (ถ้ามี)
3) เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
หากผู้อุทธรณ์มีเอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น สำเนาคำร้องขอข้อมูลข่าวสาร และหรือหนังสือแจ้งคำสั่งของหน่วยงานที่สั่งไม่เปิดเผย
หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไข ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
หากจะแนบไปกับคำอุทธรณ์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งจะได้นำไปใช้ประกอบการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปได้
3. พยายามหลีกเลียงการเขียนที่พาดพิงไปถึงบุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น
4. ถ้ามีข้อขัดข้องในการเขียนอุทธรณ์
ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 0-2281-8559 โทรสาร 0-2281-8543
3) เอกสารประกอบอื่น ๆ (ถ้ามี)
หากผู้อุทธรณ์มีเอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น สำเนาคำร้องขอข้อมูลข่าวสาร และหรือหนังสือแจ้งคำสั่งของหน่วยงานที่สั่งไม่เปิดเผย
หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านของท่าน หรือคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไข ตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
หากจะแนบไปกับคำอุทธรณ์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการข้อมูล ข่าวสารของราชการ และคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ซึ่งจะได้นำไปใช้ประกอบการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปได้
3. พยายามหลีกเลียงการเขียนที่พาดพิงไปถึงบุคคลอื่นโดยไม่จำเป็น
4. ถ้ามีข้อขัดข้องในการเขียนอุทธรณ์
ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น เจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 0-2281-8559 โทรสาร 0-2281-8543
การคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล |
“ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน บรรดาที่มีชื่อของผู้นั้นหรือมีเลขหมาย รหัส หรือสิ่งบอกลักษณะอื่นที่ทำให้รู้ตัวผู้นั้นได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียงของคนหรือรูปถ่าย และให้หมายความรวมถึงข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของผู้ที่ถึงแก่ กรรมแล้วด้วย
1. สิทธิเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
มาตรา 25 ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน และเมื่อบุคคลนั้นมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้ กระทำการแทนบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลส่วน ที่เกี่ยวกับบุคคลนั้น และให้นำมาตรา 9 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การเปิดเผยรายงานการแพทย์ที่เกี่ยวกับบุคคลใด ถ้ากรณีมีเหตุอันควรเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเปิดเผยต่อเฉพาะแพทย์ที่บุคคลนั้น มอบหมายก็ได้
ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง
ถ้าบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยว กับตนส่วนใดไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง ให้มีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสาร แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนนั้นได้ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องพิจารณาคำขอดังกล่าว และแจ้งให้บุคคลนั้นทราบโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบ ข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำขอ ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภาย ในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบ ข้อมูลข่าวสาร โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ และไม่ว่ากรณีใดๆ ให้เจ้าของข้อมูลมีสิทธิร้องขอให้หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอของตนแนบไว้กับ ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องได้
ให้บุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวงมีสิทธิดำเนินการตาม มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรานี้แทนผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถหรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วก็ได้
2.การจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
หลักการเกี่ยวกับการจัดให้มีระบบข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
1. กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียง เท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการปฎิบัติงาน และให้ยกเลิกเมื่อหมดความจำเป็น
2. ให้หน่วยงานของรัฐพยายามจัดเก็บข้อมูลข่าวสารบุคคลจากเจ้าของข้อมูลโดยตรง
3. บังคับให้มีการประกาศรายการสำคัญหรือจำเป้นเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลข่าว สารส่วนลุคคล โดยการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาในรายการดังต่อไปนี้
- ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
- ประเภทของข้อมูลข่าวสารส่วนบุลคล
- ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
- วิธีการขอตรวจข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
- วิธีการขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข้ข้อมูล
- แหล่งที่มาของข้อมูล
4. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดระบบรักษาความปลอดภัยและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ
1. กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพียง เท่าที่เกี่ยวข้องและจำเป็นต่อการปฎิบัติงาน และให้ยกเลิกเมื่อหมดความจำเป็น
2. ให้หน่วยงานของรัฐพยายามจัดเก็บข้อมูลข่าวสารบุคคลจากเจ้าของข้อมูลโดยตรง
3. บังคับให้มีการประกาศรายการสำคัญหรือจำเป้นเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลข่าว สารส่วนลุคคล โดยการลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาในรายการดังต่อไปนี้
- ประเภทของบุคคลที่มีการเก็บข้อมูลไว้
- ประเภทของข้อมูลข่าวสารส่วนบุลคล
- ลักษณะการใช้ข้อมูลตามปกติ
- วิธีการขอตรวจข้อมูลข่าวสารของเจ้าของข้อมูล
- วิธีการขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไข้ข้อมูล
- แหล่งที่มาของข้อมูล
4. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดระบบรักษาความปลอดภัยและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลอยู่เสมอ
3.การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
การนำข้อมูลไปใช้งาน
กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบในกรณีที่จัด ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลไปยังที่ใด ซึ่งจะเป็นผลให้บุคคลทั่วไปทราบข้อมูลข่าวสารนั้นได้
เว้นแต่เป็นไปตามลักษณะการใช้ข้อมูลปกติ
การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
หน่วยงานของรัฐจะเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่อยู่ในความควบคุมดูแล ของตนต่อหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นหรือผู้อื่นโดยปราศจาความยินยอมเป็นหนังสือ ของเจ้าของข้อมูลที่ให้ไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้นมิได้ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดไว้ เช่น การเปิดเผยต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของตนเพื่อการนำไปใช้ตามอำนาจ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐแห่งนั้น เป็นการให้ซึ่งจำเป็นเพื่อการปกป้องหรือระงับอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของ บุคคล เป็นต้น
4.การตรวจดูข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ได้ให้สิทธิแก่ประชาชนเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลมีสิทธิขอตรวจดูข้อมูล ข่าวสารของตนหรือเกี่ยวกับตนเองได้ และกำหนดว่า ถ้าพบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดเก็บไว้ไม่ถูกต้อง ประชาชนผู้เป็นเจ้าของข้อมูลย่อมมีสิทธิทำคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐ แก้ไขข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนั้นได้ ทั้งนี้ เพื่อมิให้มีการนำข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาดไปใช้ให้เกิดผลร้ายแก่บุคคล และจะขอสำเนาข้อมูลข่าวสารนั้นก็ได้
ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่ยอมปฏิบัติตามคำขอให้แก้ไข ประชาชนเจ้าของข้อมูลอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าว สารได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ซึ่งถ้าคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารได้วินิจฉัยเช่นใด หน่วยงานของรัฐก็ต้องปฏิบัติตามนั้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีการอุทธรณ์หรือไม่ หรือผลการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นเช่นใดก็ตาม เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้หน่วยงานของรัฐหมายเหตุคำขอของตนแนบไว้กับข้อมูล ข่าวสารส่วนบุคคลนั้นก็ได้ ทั้งนี้ เมื่อแต่ละฝ่ายยืนยันว่าตนเป็นฝ่ายถูก การให้หมายเหตุไว้จึงเป็นวิธีการสุดท้ายที่จะเตือนให้ผู้จะนำข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคลนั้นมาใช้ได้ตระหนักและใช้ดุลยพินิจโดยระมัดระวังว่า ที่ถูกต้องเป็นเช่นใดแน่
5.การแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือขอให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเพื่อขอให้ดำเนินการแก้ไข
เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนที่เห็นว่าไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริงได้ (มาตรา 25 วรรคสาม)
หากตรวจดูข้อมูลข่าวสารแล้วพบว่ามีข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในส่วนของตนเองส่วนหนึ่งส่วนใดที่ไม่ถูกต้องก็สามารถที่จะยื่นคำขอให้
หน่วยงานของรัฐดำเนินการแก้ไข
ได้
ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำ
ขอ ผู้ที่ยื่นคำขอก็มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์
ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร
กรณีที่เจ้าของข้อมูลเป็นผู้เยาว์
คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
หรือเป็นเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้ว กฎหมายกำหนดให้บุคคลตามที่
กฎกระทรวงกำหนดใช้สิทธิในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล การขอตรวจสอบและการขอให้มีการแก้ไขแทนได้ (มาตรา 25 วรรคห้า)
เช่น ในกรณีที่มีผู้ถึงแก่กรรมและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ให้บุคคลที่กฎหมายกำหนดตามลำดับต่อไปนี้ใช้สิทธิแทน
(1) บุตรชอบด้วยกฎหมาย
(2) คู่สมรส
(3) บิดาหรือมารดา
(4) ผู้สืบสันดาน
(5) พี่น้องร่วมบิดา มารดา
(2) คู่สมรส
(3) บิดาหรือมารดา
(4) ผู้สืบสันดาน
(5) พี่น้องร่วมบิดา มารดา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น