วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

หน้าหลัก

ข่าวประชาสัมพันธ์ / เอกสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
- ขอให้หน่วยงานที่ยังไม่ส่ง link จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ พรบ.ข้อมูลข่าวสารให้จัดส่งมายัง satunweb@gmail.com ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2557 - New
ไฟล์บรรยาย พรบ.ข้อมูลข่าวสารจังหวัดสตูล เมื่อวันที่ 7/05/57 New
แผ่นพับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
แผ่นพับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารจังหวัดสตูล
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
แผ่นพับ สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและการคุ้มครองเยียวยา ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
สรุปรายชื่อกระทรวงและจังหวัดที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นหน่วยงานต้นแบบ ในการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2556


เกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสสำหรับหน่วยงานภาครัฐ
ที่กำหนดภายใต้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐
ควาามเป็นมาของเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสหน่วยงานภาครัฐ
วิธีการประเมินเกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสหน่วยงานภาครัฐ
เกณฑ์มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสหน่วยงานภาครัฐ 7 มาตรฐาน 40 ตัวชี้วัด
1. มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการจัดหาพัสดุ (การจัดซื้อจัดจ้าง) - มี 6 ตัวชี้วัด
แบบประเมินมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการจัดหาพัสดุ (การจัดซื้อจัดจ้าง) 
คำอธิบายมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการจัดหาพัสดุ (การจัดซื้อจัดจ้าง)
2. มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหาร - มี 5 ตัวชี้วัด
แบบประเมินมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารงาน
คำอธิบายมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารงาน
3. มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการให้บริการแก่ประชาชน - มี 6 ตัวชี้วัด
แบบประเมินมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการให้บริการแก่ประชาชน
คำอธิบายมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการให้บริการแก่ประชาชน
4. มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารบุคคล - มี 5 ตัวชี้วัด
แบบประเมินมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารงานบุคคล
คำอธิบายมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารงานบุคคล
5. มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารงบประมาณ - มี 5 ตัวชี้วัด
แบบประเมินมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารงบประมาณ
คำอธิบายมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการบริหารงบประมาณ
6. มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการติดตามและประเมินผล - มี 5 ตัวชี้วัด
 แบบประเมินมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการติดตามและประเมินผล
คำอธิบายมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการติดตามและประเมินผล
7. มาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ - มี 8 ตัวชี้วัด
แบบประเมินมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
คำอธิบายมาตรฐานและตัวชี้วัดความโปร่งใสด้านการเปิดเผยและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
 

สำหรับประชาชน



ขั้นตอนการร้องเรียน
เมื่อหน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (มาตรา 13 และมาตรา 33) ประชาชนมีสิทธิยื่นคำร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยมีขั้นตอนและวิธีการร้องเรียน ดังต่อไปนี้
1. พิจารณาว่าพฤติการณ์ หรือการปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐได้มีลักษณะตามกรณีดังต่อไปนี้หรือไม่
     1) กรณีไม่นำข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 7 ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
     2) กรณีไม่จัดข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 9 ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้
     3) กรณีไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ใช้สิทธิขอดู ตามมาตรา 11
     4) กรณีไม่ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง หรือไม่ส่งคำขอให้หน่วยงานผู้จัดทำข้อมูลข่าวสารพิจารณา ตามมาตรา 12
     5) กรณีไม่แจ้งให้ผู้มีประโยชน์ได้เสียเสนอคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ของราชการ ตามมาตรา 17
     6) กรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ตามมาตรา 23
     7) กรณีเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล  โดยปราศจากความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูล ตามมาตรา 24
     8) กรณีกระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล  โดยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 25 (ยกเว้นเป็นกรณี ตามมาตรา 25 วรรคสี่)
     9) กรณีไม่ส่งมอบข้อมูลข่าวสารประวัติศาสตร์ให้กับหอจดหมายเหตุเพื่อคัดเลือก ไว้ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ตามมาตรา 26
     10) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า หรือไม่ให้บริการข้อมูลข่าวสาร ตามมาตรา 13
     11) กรณีไม่ได้รับความสะดวกในการใช้สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารโดยไม่มีเหตุอัน สมควร ตามมาตรา 13
     12) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารตามที่ร้องขอ และผู้ร้องขอไม่เชื่อว่าเป็นความจริง (มาตรา 33)

2. ยื่นหนังสือร้องเรียนด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นแทน

สามารถยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการได้ทันที
โดยยื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
หรือจะส่งหนังสือร้องเรียนทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยจ่าหน้าซองดังนี้




ขั้นตอนการอุทธรณ์
ประชาชนมีสิทธิยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อพิจารณาส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้นดำเนินการ พิจารณาวินิจฉัย โดยมีขั้นตอนและวิธีการอุทธรณ์ ดังต่อไปนี้
1. พิจารณาว่าหน่วยงานของรัฐได้กระทำหรือปฏิบัติตามกรณีดังต่อไปนี้แล้วหรือไม่
     1) กรณีหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ได้มีคำขอ
     2) กรณีหน่วยงานของรัฐปฏิเสธไม่รับฟังคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งบุคคลผู้คัดค้านทราบว่าตนมีประโยชน์ได้เสีย
และผู้มีประโยชน์ได้เสียนั้นได้เสนอคำคัดค้านพร้อมเหตุผลประกอบเพื่อให้ หน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวแล้ว
     3) กรณีหน่วยงานของรัฐไม่ยินยอมแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามคำขอ เมื่อบุคคลใดเห็นว่าข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
ซึ่งหน่วยงานของรัฐจัดเก็บไว้ไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริง และได้ยื่นคำขอเป็นหนังสือให้หน่วยงานของรัฐเปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ถูกต้อง
2. ยื่นหนังสืออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
     สามารถยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ หรือส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์ที่
สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ชั้น 2) ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร 10300
โทรศัพท์ 0-2281-8559 โทรสาร 0-2281-8543

3. รอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 60 วัน



ข้อแนะนำในตรวจดูข้อมูล

ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารได้ทุกเรื่อง

     สิทธิในการยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารนี้ ถือว่าเป็นไปตามมาตรา 11 ของกฎหมาย ประชาชนมีสิทธิยื่นคำขอข้อมูลข่าวสารของราชการได้ทุกเรื่อง โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดข้อจำกัดหรือข้อห้ามว่าไม่ให้ยื่นคำขอข้อมูลข่าวสาร ประเภทใดหรือเรื่องใด และผู้ใช้สิทธิยื่นคำขอตามกฎหมายนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีส่วนได้ส่วนเสียเช่น เดียวกับสิทธิเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสาร

สิทธิในการเข้าตรวจดู

     สิทธิในการเข้าตรวจดูข้อมูลข่าวสารของราชการ ประชาชนสามารถทำได้ แม้ว่าจะไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารนั้น โดยกฎหมายได้บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐจะต้องเตรียมข้อมูลข่าวสารของราชการ อย่างน้อยตามรายการที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 9 นำไปรวมไว้ที่ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ เช่น แผนงานโครงการและงบประมาณ สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะผูกขาดตัดตอน เป็นต้น

สิทธิในการขอสำเนาหรือการรับรองสำเนาถูกต้อง

     เมื่อประชาชนได้ใช้สิทธิเข้าตรวจดู แล้ว หากสนใจข้อมูลข่าวสารของราชการในเรื่องใดก็มีสิทธิที่จะขอสำเนา และขอให้รับรองสำเนาถูกต้องจากหน่วยงานของรัฐในเรื่องนั้นได้
     หมายเหต การ ขอสำเนาผู้ขออาจต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถ่ายสำเนาให้กับหน่วยงานของรัฐที่ เข้าตรวจดูด้วย แต่ทั้งนี้จะเก็บค่าธรรมเนียมเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ของราชการให้ความเห็นชอบไม่ได้
บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือเพื่อขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเอง (มาตรา 25 วรรคหนึ่ง)

     เป็นกรณีที่หน่วยงานของรัฐแห่งหนึ่งแห่งใด ที่มีการรวบรวมข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ เช่น ประวัติสุขภาพ ประวัติการทำงาน หรือข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฐานะการเงิน เป็นต้น บุคคลผู้นั้นก็มีสิทธิตามกฎหมายที่จะขอตรวจดู หรือขอสำเนาข้อมูลข่าวสารดังกล่าวนี้ของตนเองได้ คำว่า บุคคล ตามที่นี้ก็คือ ประชาชนโดยทั่วไปนั่นเอง ทั้งนี้ กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการในส่วนที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลได้ ให้สิทธิครอบคลุมไปถึงคนที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยด้วย


การแก้ไขข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
บุคคลมีสิทธิยื่นคำขอเป็นหนังสือขอให้หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเพื่อขอให้ดำเนินการแก้ไข
เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนที่เห็นว่าไม่ถูกต้องตามที่เป็นจริงได้ (มาตรา 25 วรรคสาม)

     หากตรวจดูข้อมูลข่าวสารแล้วพบว่ามีข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลในส่วนของตนเองส่วนหนึ่งส่วนใดที่ไม่ถูกต้องก็สามารถที่จะยื่นคำขอให้
หน่วยงานของรัฐดำเนินการแก้ไข ได้ ถ้าหน่วยงานของรัฐไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารให้ตรงตามที่มีคำ ขอ ผู้ที่ยื่นคำขอก็มีสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์
ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำสั่งไม่ยินยอมแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสาร

     กรณีที่เจ้าของข้อมูลเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือเป็นเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้ว กฎหมายกำหนดให้บุคคลตามที่
กฎกระทรวงกำหนดใช้สิทธิในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล การขอตรวจสอบและการขอให้มีการแก้ไขแทนได้ (มาตรา 25 วรรคห้า)

     เช่น ในกรณีที่มีผู้ถึงแก่กรรมและไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ให้บุคคลที่กฎหมายกำหนดตามลำดับต่อไปนี้ใช้สิทธิแทน

       (1) บุตรชอบด้วยกฎหมาย
       (2) คู่สมรส
       (3) บิดาหรือมารดา
       (4) ผู้สืบสันดาน
       (5) พี่น้องร่วมบิดา มารดา

1 ความคิดเห็น: